วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ วันที่ 10 - 30 มิถุนายน 2551
วันที่ 10 มิถุนายน 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ออกแบบลวดลาย
วันที่ 11 มิถุนายน 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ออกแบบลวดลาย
วันที่ 12 มิถุนายน 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ออกแบบลวดลาย
วันที่ 13 มิถุนายน 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ออกแบบลวดลาย
วันที่ 14 มิถุนายน 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ตรวจงาน
วันที่ 16 มิถุนายน 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ตรวจงาน
วันที่ 17 มิถุนายน 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ตรวจงาน
วันที่ 18 มิถุนายน 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ออกแบบลวดลาย
วันที่ 19 มิถุนายน 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ตรวจงาน
วันที่ 20 มิถุนายน 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ตรวจงาน
วันที่ 21 มิถุนายน 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ออกแบบลวดลาย
วันที่ 23 มิถุนายน 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ออกแบบลวดลาย
วันที่ 24 มิถุนายน 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ออกแบบลวดลาย
วันที่ 25 มิถุนายน 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ตรวจงาน
วันที่ 26 มิถุนายน 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ตรวจงาน
วันที่ 27 มิถุนายน 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ตรวจงาน
วันที่ 28 มิถุนายน 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ตรวจงาน
วันที่ 30 มิถุนายน 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ออกแบบลวดลาย

ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ วันที่ 1- 31 กรกฎาคม 2551
วันที่ 1 กรกฎาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ออกแบบลวดลาย
วันที่ 2 กรกฎาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ตรวจงาน
วันที่ 3 กรกฎาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ตรวจงาน
วันที่ 4 กรกฎาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ตรวจงาน
วันที่ 5 กรกฎาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
อกแบบลวดลาย
วันที่ 7 กรกฎาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ออกแบบลวดลาย
วันที่ 8 กรกฎาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ตรวจงาน
วันที่ 9 กรกฎาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ตรวจงาน
วันที่ 10 กรกฎาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ตรวจงาน
วันที่ 11 กรกฎาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ออกแบลวดลาย
วันที่ 12 กรกฎาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ออกแบบลวดลาย
วันที่ 14 กรกฎาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ตรวจงาน
วันที่ 15 กรกฎาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ตรวจงาน
วันที่ 16 กรกฎาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ออกแบบลวดลาย
วันที่ 17 กรกฎาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ออกแบบลวดลาย
วันที่ 21 กรกฎาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ออกแบงาน
วันที่ 22 กรกฎาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ออกแบบงาน
วันที่ 23 กรกฎาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ตรวจงาน
วันที่ 24 กรกฎาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ออกแบบงาน
วันที่ 25 กรกฎาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ตรวจงาน
วันที่ 26 กรกฎาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ตรวจงาน
วันที่ 28 กรกฎาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ออกแบบงาน
วันที่ 29 กรกฎาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ออกแบบลวดลาย
วันที่ 30 กรกฎาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ตรวจงาน
วันที่ 31 กรกฎาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ตรวจงาน

ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ วันที่ 1- 27 สิงหาคม 2551
วันที่ 1 สิงหาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ตรวจคุณภาพงาน
วันที่ 2 สิงหาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ออกแบบงาน
วันที่ 4 สิงหาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ออกแบบงาน
วันที่ 5 สิงหาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ตรวจคุณภาพงาน
วันที่ 6 สิงหาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ตรวจคุณภาพงาน
วันที่ 7 สิงหาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ตรวจคุณภาพงาน
วันที่ 8 สิงหาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ออกแบบลวดลาย
วันที่ 9 สิงหาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ออกแบบลวดลาย
วันที่ 11 สิงหาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ออกแบบงาน
วันที่ 13 สิงหาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ตรวจคุณภาพงาน
วันที่ 14 สิงหาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ตรวจคุณภาพงาน
วันที่ 15 สิงหาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ออกแบบงาน
วันที่ 16 สิงหาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ตรวจคุณภาพงาน
วันที่ 18 สิงหาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ออกแบบงาน
วันที่ 19 สิงหาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ออกแบบงาน
วันที่ 20 สิงหาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ตรวจคุณภาพงาน
วันที่ 21 สิงหาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ตรวจคุณภาพงาน
วันที่ 22 สิงหาคม 2551 เวลา 08.00น - 1700น
ออกแบบลวดลาย
วันที่ 23 สิงหาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ตรวจคุณภาพงาน
วันที่ 25 สิงหาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ตรวจคุณภาพงาน
วันที่ 26 สิงหาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ออกแบบลวดลาย
วันที่ 27 สิงหาคม 2551 เวลา 08.00น - 17.00น
ผลิตชิ้นงานตามแบบ

วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2551

โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2548 โดยคณาจารย์ผู้จบการศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง ซึ่งมีหลักสูตรที่อยู่ในความดูแล คือ หลักสูตร วท.บ.เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเปิดสอน หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศครั้งแรกในปี พ.ศ.2548 ทั้งภาคปกติ และ ภาค กศ.พ.
ช่วงปลายปี พ.ศ.2548 ทีมผู้ก่อตั้งได้ปรับปรุงหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศขึ้นมาใหม่ โดยลดจำนวนหน่วยกิตจาก 143 หน่วยกิต เหลือเพียง 126 หน่วยกิต แต่มีเนื้อหาวิชาที่ทันสมัยขึ้น นอกจากนี้หลักสูตรปรับปรุงใหม่ยังแยกออกเป็น 4 สาขาย่อย ซึ่งผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในสาขาย่อยใด สาขาย่อยหนึ่งตามความสนใจ ได้แก่
1. เทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม
2. เทคโนโลยีซอฟต์แวร์
3. การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ
4. การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
บุคลากรในปัจจุบัน ประกอบด้วย อาจารย์ประจำ วุฒิการศึกษาระดับปริญญาโท ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 6 ท่าน กำลังศึกษาต่อระดับปริญญาเอก 4 ท่าน อาจารย์พิเศษที่มีความรู้เชี่ยวชาญ โดยตรงอีก จำนวน 20 ท่าน และเจ้าหน้าที่ประจำห้องปฏิบัติการในปัจจุบันห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มีจำนวนทั้งหมด 6 ห้อง ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ที่ทันสมัย มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกทั้งกับผู้เรียนและผู้สอนอย่างครบครันทุกห้องสามารถเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อการสืบค้น และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารได้โดยสะดวก
หลักสูตร
ปริญญาตรี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ สายวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์
โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
วุฒิ
ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีสารสนเทศ)
Bachelor of Science (Information Technology)
ชื่อย่อ : วท.บ. (เทคโนโลยีสารสนเทศ)
B.S. (Information Technology)
ปณิธาน
ขยันหมั่นพากเพียร ใฝ่เรียนอยู่เป็นนิจ
ชีวิตให้ราบรื่น มีพื้นความรู้ดี

  • คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์
    มีความรัก ความศรัทธา ในวิชาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
    มีค่านิยมที่พึงประสงค์
    มีคุณธรรมและจริยธรรม ตลอดจนมีจิตใจใฝ่สัมฤทธิ์ พัฒนาตนเองอยู่เสมอ
    มีความรู้และเทคนิควิธีที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ
    มีความคิดสร้างสรรค์
    มีทักษะและมีวิจารณญาณในการแก้ปัญหา
    มีสุขนิสัยที่ส่งเสริมคุณภาพทางกายและทางใจ ทั้งในส่วนตนและส่วนรวม
    มีจิตสำนึกในการพัฒนาสังคม เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน
    มีจิตใจเป็นประชาธิปไตย กระตือรือร้นที่จะมีส่วนร่วมในการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
    รักษาเอกลักษณ์และวัฒนธรรมอันดีของชาติ และมีความสำนึกในความเป็นคนไทย
  • ความก้าวหน้าในอาชีพ
    ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และเอก ในสถานศึกษาได้ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
    สามารถเข้าทำงานได้ทั้งภาครัฐบาล ภาครัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ในด้านเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
    ประกอบอาชีพอิสระในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือคอมพิวเตอร์
โครงสร้างหลักสูตร
หลักสูตรโปรแกรมวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ระดับปริญญาตรี หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 143 หน่วยกิต โดยมีสัดส่วนหน่วยกิตแต่ละหมวดวิชา และแต่ละกลุ่มวิชา ดังนี้
1. หมวดวิชาการศึกษาทั่วไป 33 หน่วยกิต
1.1 กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร 9 หน่วยกิต
1.2 กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 9 หน่วยกิต
1.3 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ 6 หน่วยกิต
1.4 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 9 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน 100 หน่วยกิต
2.1 กลุ่มวิชาเนื้อหา 78 หน่วยกิต
2.2 กลุ่มวิชาการจัดการ 15 หน่วยกิต
2.3 กลุ่มวิชาปฏิบัติการและฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 7 หน่วยกิต
3. หมวดวิชาเลือกเสรี 10 หน่วยกิต
จุดประสงค์เฉพาะ
1. เพื่อให้บัณฑิตมีคุณธรรม จริยธรรม และจิตสำนึกต่อการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ประกอบอาชีพ
2. เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสารสนเทศและระบบการจัดการสารสนเทศ
3. เพื่อให้บัณฑิตสามารถเลือกใช้และจัดระบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. เพื่อให้บัณฑิตสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานต่าง ๆ ได้ เช่น ผู้สอน ผู้ให้บริการ
5. เพื่อให้บัณฑิตมีความสามารถในการศึกษาค้นคว้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตตนให้ดีขึ้น
6. เพื่อให้บัณฑิตมีความสามารถในการตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

วันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2551

การสร้างจดหมายเวียนของ Word ด้วยข้อมูลของ Excel

บทนำ

บางท่านอาจจะต้องมีหน้าที่ต้องเตรียมหนังสือเชิญประชุมถึงคนจำนวนมากอยู่บ่อย ๆ ท่านอาจจะบอกว่าไม่มีปัญหา ก็ใช้พิมพ์หนังสือเชิญประชุม ใน Microsoft Word ต้นฉบับ และคัดลอกตัวหนังสือเชิญเท่ากับจำนวนผู้ที่เราจะเชิญประชุม และพิมพ์ชื่อผู้ที่ต้องการเชิญประชุม ในแต่ละฉบับ ก็เรียบร้อยแล้ว หากมีการแก้ไข เช่น เปลี่ยนวันนัดหมายการประชุม เมื่อท่านเตรียมหนังสือเชิญประชุมถึงทุกคนเสร็จแล้ว ท่านจะต้องทำการแก้ไขทุกฉบับ ซึ่งบางครั้งอาจจะแก้ไขไม่ครบทุกฉบับ เมื่อส่งหนังสือเชิญประชุมไปแล้ว ผลกระทบที่ตามมาคือผู้เข้าร่วมประชุมมาประชุมคนละวันกันที่แย่ไปกว่านั้นคือการใช้ลายมือเขียนชื่อผู้ที่ต้องการเชิญประชุมซึ่งดูไม่สวยงามและไม่เป็นมืออาชีพการทำจดหมายเวียนด้วย Microsoft Wordโปรแกรม Microsoft Word มีเครื่องมือที่จะช่วยให้ท่านเตรียมเอกสารที่มีลักษณะเหมือนกัน ทำให้ช่วยประหยัดเวลาในการทำงานและทรัพยากรอันมีค่าของท่านอย่างคุ้มค่าที่สุด เครื่องมือดังกล่าวคือ Mail Merge หรือการสร้างจดหมายเวียน ในการทำจดหมายเวียนต้องการเอกสาร 2 ส่วนคือ
1. เอกสารหลัก (main document) เป็นแฟ้มที่เก็บเนื้อความหลัก เช่น จดหมายเชิญประชุม สัญญาโครงการวิจัย เป็นต้น
2. แหล่งข้อมูล (data source) เป็นแฟ้มข้อมูลที่เก็บข้อมูลที่แปรเปลี่ยนไปของเอกสารแต่ละฉบับ เช่น ผู้ที่ต้องการส่งจดหมายเชิญสำหรับจดหมายเชิญประชุมหรือ ชื่อผู้วิจัย, ที่อยู่ผู้วิจัย, ชื่อโครงการวิจัย, เงินอุดหนุนวิจัย เป็นต้น สำหรับสัญญาโครงการวิจัย แหล่งข้อมูลจะอยู่ในรูปของตารางข้อมูล ซึ่งอาจสร้างมาจาก MS word, Excel, หรือ ฐานข้อมูล อื่นๆ

การผนวกเอกสารหลักกับแหล่งข้อมูลเมื่อเตรียมเอกสารหลักและแหล่งข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ให้เปิดไฟล์ของเอกสารหลักไว้ แล้วเลือกเมนูTools -> Mail Merge ซึ่งมี 4 ขั้นตอน

1. Main document เลือก Create -> Form Lettersแล้วเลือก Active window
2. Data Source เลือก GetData -> Open Data Sourceแล้วเลือกไฟล์ที่เก็บแหล่งข้อมูล
3. Merge the Data with Document เลือก Merge หาก Mail Merge ไม่พบ Merge field ก็จะให้เราเลือก Edit Document แล้วเลือก Insert field ตามตำแหน่งที่ต้องการในเอกสารหลัก เมื่อเลือกฟิลด์ที่ต้องการแล้วจะปรากฏเครื่องหมาย << >> กั้นแต่ละฟิลด์ผนวก
4. กลับไปเลือก Tools -> Mail Merge อีกครั้งหนึ่ง แล้วเลือก 3 Merge ก็จะได้เอกสาร Form Letter จำนวนตามที่ต้องการ โดยสามารถ ผนวกเอกสารหลักกับแหล่งข้อมูลทั้งหมด หรือ เลือกเฉพาะข้อมูลได้ จาก Records to be merged





ประโยชน์ของการใช้ Mail Merge เมื่อเราใช้ Mail Merge ในการทำจดหมายเวียน ในการเก็บสำเนาของจดหมายเราก็เพียงแต่เก็บเอกสารหลัก และตารางแหล่งข้อมูลไว้อ้างอิงก็เพียงพอ ไม่ต้องสำเนาจดหมายทุกฉบับเก็บไว้ นอกจากนั้นแล้วไฟล์แหล่งข้อมูลเราอาจะใช้เก็บข้อมูลฟิลด์อื่น ๆ ที่ไม่ได้ใช้ในการ merge แต่ใช้ในงานอื่น เช่น เก็บหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่เราเชิญประชุม เพื่อการติดต่อ และยังสามารถดัดแปลงไฟล์แหล่งข้อมูลมาเป็นใบเซ็นชื่อของผู้เข้าร่วมประชุมได้สำนักคอมพิวเตอร์จะได้เตรียมแหล่งข้อมูลที่ใช้บ่อย ๆ ของมหาวิทยาลัย เช่น ตำแหน่งต่าง ๆ ของผู้บริหารมหาวิทยาลัยให้สำหรับผู้ใช้ โปรดติดตามต่อไปสรุปการสร้างจดหมายเวียนยังสามารถนำมาใช้ประยุกต์กับงานด้านต่างๆ ในสำนักงานได้อีกมากมาย เช่น การพิมพ์สัญญาโครงการวิจัยของฝ่ายวิจัย เป็นต้น

วันพุธที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2551

7 เทคนิคการสร้างบล็อกอย่างมืออาชีพ

1. ใส่ใจกับรูปแบบดีไซน์ของ blogลองสังเกตดูง่าย ๆ ครับ สำหรับบล็อกชั้นนำของโลก ต่างก็ไม่ได้ใช้ template แจกฟรีที่มีกันทั่วไป แต่บล็อกชั้นนำเหล่านี้ ต่างก็ออกแบบดีไซน์ของบล็อกขึ้นมาเองทั้งหมด ทำให้บล็อกนั้นดูมีความแตกต่าง และมีความเป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้น
2. ใส่ใจกับเนื้อหาของบล็อกก่อนที่คุณจะสร้างบล็อกขึ้นมาซักแห่งหนึ่ง ลองวางแนวทาง ของเนื้อหาในบล็อกดูก่อนครับ ว่าเราต้องการจะนำเสนอบทความรูปแบบไหน เราจะมีวิธีนำเสนอไปในทางใด สิ่งเหล่านี้ จะทำให้คุณไม่หลุดประเด็น จากที่คุณตั้งใจไว้ตั้งแต่แรกไงครับ เช่น บล็อกของ keng.com ต้องการจะเป็น บล็อกที่นำเสนอข้อมูลด้านการทำบล็อก ดังนั้นผมวางแนวทางไว้ว่า ต้องมีข่าวสารวงการบล็อกทั่วโลก มาให้ผู้อ่านได้อ่านกัน และยังต้องมีเทคนิคการทำบล็อกสำหรับมือใหม่ เช่นบทความเรื่อง “blog คืออะไร?” และมีเทคนิคสำหรับขั้นผู้เชี่ยวชาญ เช่นการใส่ Tag หรือการ Ping ไปยัง blog search engine เป็นต้น ตัวอย่างข้างต้น ดังเช่นตัวอย่างบทความ ที่ผมเขียนขึ้นมาเหล่านี้ เป็นแนวทาง ในการกำหนดทิศทางของบล็อกครับ
3. ใส่ใจผู้อ่าน มากกว่าใส่ใจตัวเองเนื้อหาของบล็อกเป็นสิ่งที่ผุ้อ่านใส่ใจใคร่รู้ ไม่ใช่ป้ายโฆษณาที่เราวางระเกะระกะในเว็บไซต์แต่อย่างใด ดังนั้นการจัดรูปแบบโฆษณา ต้องคำนึงถึงจิตใจผู้อ่านด้วยนะครับ ว่าถ้าเป็นเราเอง ไปอ่านบล็อกคนอื่น แล้วมีโฆษณามาเกะกะในตัวบทความ เราชอบหรือไม่ โดยทั่วไปแล้ว ถ้าบทความของเราเขียนได้ดี ผู้อ่านก็จะมาอ่านซ้ำแล้วซ้ำอีก และอาจมีผู้อ่านมากขึ้นทุก ๆ วัน หลังจากนั้นแล้ว รายได้จากค่าโฆษณาจะตามมาเอง โดยที่เราไม่ต้องไปใส่โฆษณา แทรกลงไปในตัวบทความอีกด้วย
4. ใส่ใจ comment ที่มีเข้ามาบล็อกสามารถใช้ประโยชน์ของการสื่อสาร ได้ด้วยระบบ comment ในตัวเอง ซึ่งโปรแกรมสร้างบล็อก (ฺBlogware) ส่วนใหญ่ มีระบบ comment ติดมาให้ด้วยอยู่แล้ว ลองใช้ระบบนี้ให้เกิดประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นการอ่าน comment การตอบ comment ต่าง ๆ บางครั้งเราอาจได้ประโยชน์ จากการดึงประเด็นเด็ด ๆ จาก comment มาใช้เขียนบทความก็เป็นได้ ดังนั้น ทุก ๆ วันคุณควรที่จะตรวจสอบว่ามี comment ใดเข้ามาบ้าง เพื่อที่จะได้ตอบได้ทันท่วงที เมื่อเราตอบได้เร็ว ผู้อ่านมีอารมณ์ร่วมในการสื่อสาร ทั้งสองฝ่ายก็แฮปปี้ครับ และจุดสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ถ้าเราตรวจสอบ comment ทุกวัน เราสามารถลบพวก spam comment ออกได้อย่างทันควันไงครับ
5. ใส่ใจในมาตรฐานของเว็บไซต์ไม่มีใครรู้ว่าบล็อกของเราจะมีคนเข้ามาอ่านมากแค่ไหน บางครั้งเราอาจต้องมีการปรับปรุงเว็บไซต์ หรือบางครั้งเราอาจต้องมีการปรับแต่งดีไซน์ เพื่อรองรับการขยายตัวอย่างที่เราไม่คาดฝัน ลองมองไปถึงการดีไซน์บล็อกด้วย มาตรฐานของเว็บไซต์ (Web Standard) ซึ่งจะสามารถทำให้บล็อกของคุณ แสดงผลได้ดีในทุก ๆ browser และลองพยายามใช้ css ในทุก ๆ ส่วนที่คุณทำได้ เพราะตัว css นี้มีความยืดหยุ่นสูง ถ้าเราต้องมีการเปลี่ยนแปลงดีไซน์ต่าง ๆ เราจะได้ปรับเฉพาะแค่ไฟล์ css แทนที่จะไปแก้ html ในแต่ละหน้า ลองนึกดูครับว่า ถ้าวันใดที่คุณมีบทความประมาณ 1,000 บทความ แต่คุณต้องมานั่งแก้สีของกรอบรูปภาพ ที่คุณเคยเขียนโค๊ดใส่ border เข้าไปที่โค๊ดของรูปภาพโดยตรง แทนที่จะแก้ไขที่ไฟล์ css แค่บรรทัดเดียว
6. จัดตารางเวลาในการเขียนให้เหมาะสมเมื่อตอนเริ่มเขียนบล็อก คุณอาจใช้เวลาไม่มากนักในการเขียนบทความ แต่เมื่อคุณเขียนมากขึ้นเรื่อย ๆ จากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นปี แน่นอนว่าคงต้องมีการกระทบกับเวลาการทำงานอื่น ๆ ของคุณเช่นกัน ดังนั้นลองจัดสรรเวลาสำหรับเขียนบล็อก อาจจะตื่นเช้าสักหน่อย ใช้เวลาในช่วงเช้าก่อนไปทำงาน เขียนบทความสักหนึ่งตอน หรือจะเขียนบทความในช่วงดึก ๆ ก่อนนอนก็ได้ ตรงนี้แล้วแต่คนนะครับ ว่าคุณสะดวกแบบไหน หรือมีเวลาว่างในตอนอื่น ๆ ลองปรับให้เหมาะสมกับตัวเองดูีครับ
7. ใส่ใจเรื่องขนาดของภาพประกอบบทความไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่งฉันท์ใด บล็อกย่อมงามเพราะดีไซน์และภาพประกอบ (มั่วจริง ๆ เลยผม) ลองทำความรู้จักกับรูปแบบของไฟล์ภาพชนิดต่าง ๆ ดูนะครับ เช่นไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น .gif นั้น สามารถแสดงผลได้สูงสุด 256 สี แต่ไฟล์ภาพที่เป็นนามสกุล .jpg นั้นสามารถแสดงผลได้สูงสุด 16 ล้านสี ดังนั้นการเลือกที่จะเซฟภาพเป็นไฟล์นามสกุลอะไรนั้น เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เพราะหากเลือกชนิดไฟล์ผิด ภาพที่ออกมาจะไม่สวย และไฟล์อาจมีขนาดใหญ่ผิดปกติ นั่นจะเป็นสิ่งทกินทรัพยากรของระบบ และบล็อกของคุณมากขึ้นไปอีก เพราะถ้ามีผู้อ่านเยอะ แต่ต้องรอโหลดภาพที่ใหญ่ผิดปกติ ผู้อ่านบางท่านอาจจะเลิกรอเลยครับ ผมขอแนะนำวิธีง่าย ๆ ในการเซฟภาพดังนี้ครับ หากเป็นภาพถ่าย แนะนำให้ใช้เป็น jpg ส่วนถ้าเป็นไฟล์โลโก้ หรือภาพที่มีจำนวนสีน้อย ๆ ลองดูเป็น gif นะครับ